การตั้งสายกีตาร์ (Guitar Tuning)

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการตั้งสายกีตาร์คือรู้ว่าตัวโน้ตแต่ละสายนั้นเสียงอะไรบ้าง
เสียงตัวโน้ตสายเปล่าทั้งหกสายของกีตาร์

สาย 1 เสียง มี (E) 
สาย 2 เสียง ที (B) 
สาย 3 เสียง ซอล (G) 
สาย 4 เสียง เร (D) 
สาย 5 เสียง ลา (A) 
สาย 6 เสียง มี (E) 

*ตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนเสียงนั้นต้องจำเพราะจะใช้ในการตั้งสายทั้งแบบใช้เครื่องตั้งสายและแบบรีเรทีฟ 

#1 แบบใช้เครื่องตั้งสาย
ง่ายๆดังนี้ เสียงที่ถูกจะแสดง (E B G D A E) ตามสายต่างๆ เมื่อเราตั้งสายตรง เครื่องตั้งสายมีอยู่มากมายหลายแบบ ยิ่งในยุคสมัยนี้มี App ที่ช่วยในการตั้งสายบบนมือถือของคุณแล้ว  ลองๆ โหลดมาใช้ได้ครับ แค่พิมพ์ว่า “Guitartunner“ ใน App Store หรือ Play Store  

#2 การตั้งสายแบบรีเรทีฟ หรือการตั้งสายแบบสัมพันธ์กัน คือการใช้สายกีตาร์ที่ตั้งถูกต้องตามมาตรฐานแล้วมาเป็นเสียงหลักที่จะใช้เป็นตัวอย่างให้กับเสียงอื่น วิธีนี้มีประโยชน์เพราะว่าเราไม่ได้อยู่กับเครื่องตั้งสายตลอดเวลา ถ้ารู้วิธีนี้เราไม่จำเป็นต้องมีเครื่องตั้งสายเลย มีขั้นตอนดังนี้
  1. ใช้สายเปล่าหกของกีตาร์ (E) ที่ถูกตั้งถูกต้องแล้ว เป็นสายหลักในการตั้งสายของทั้งชุด 
  2. การตั้งสายห้านั้นทำได้โดยการกดที่ เฟรตห้า สายหก ของกีตาร์ (A) เพื่อตั้งสายเปล่า สายห้าซึ่งเป็นเสียงเดียวกัน
  3. จะสังเกตุได้ว่าสายหกกับห้าได้ถูกตั้งเรียบร้อยถึงคิวสายสี่ ทำเช่นเดียวกันแต่ให้กดที่เฟรตห้า สายห้า (D) แทน เพื่อที่จะตั้งสายเปล่า สายสี่ (D) และจะสัมพันธ์กับลักษณะเช่นนี้ไปจนถึงสายเปล่า สายหนึ่ง 
  4. หลังจากตั้งสายสี่แล้วต่อไปก็สายสาม กดที่เฟรตห้า สายสี่ (G) เพื่อจะตั้งสายเปล่า สายสาม (G) *ขั้นตอนที่สี่เป็นขั้นตอนเดียวที่กดเฟร็ตสี่
  5. ต่อไปก็กดที่เฟรตสี่ สายสาม (B) ใช้ตั้งสายเปล่า สายสอง (B) 
  6. กดที่เฟรตห้า สายสอง (E) เพื่อตั้งสายเปล่าสายหนึ่ง (E)

* จริงๆ แล้วถ้าลองสมมุติว่าสายหกไม่ได้ตั้งตรงตั้งแต่แรก ตัวโน้ตในแต่ละสายก็จะเพี้ยนเป็นลูกโซ่ไปตามนั้น แต่แม้ว่าจะเพี้ยนในเรื่องเสียงหรือคัย์แต่เสียงคอร์ดก็ยังคงเล่นได้เหมือนเดิมเพราะแต่ละสายมันสัมพันธ์กัน คงไม่ต่างกับการดูหนังม้วนดียวกันแต่คนละวันและเวลา เนื้อหายังคงเหมือนเดิมที่เปลี่ยนไปคือวันและเวลาเท่านั้น 







    วีดีโอแนะนำเทคนิคการเล่นดนตรี   

         
   
                                                                                        
© Patommavat Thammachard, CC license